น้ำไม่ท่วมเมืองทองธานี เพราะวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล การวางผังเมืองเมื่อ 20 ปีที่แล้ว สะท้อนถึงวิสัยทัศน์อันยาวไกล และได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ววันนี้....อะไรคือสิ่งที่ทำให้เมืองทองธานี สามารป้องกันน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด? นี่คือคำตอบ
ทุก ๆ โครงการในเมืองทองธานี จะสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 2.64-3.04 เมตร
มีทะเลสาบถึง 2 แห่งเพื่อใช้ในการระบายน้ำฝน โดยมีพื้นที่รวมกันถึง 380 ไร่ สามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 12,000,000 ลบ.ม. โดยมีการควบคุมความสมดุลของน้ำในทะเลทั้ง 2 แห่งตลอดเวลา และกำหนดระดับน้ำในทะเลสาบให้อยู่ที่ประมาณ -80 เซนติเมตร จากระดับขอบตลิ่ง
ระบบการระบายน้ำแบ่งเป็น 2 ระบบคือ ระบบระบายน้ำฝน (Storm Drainage) และระบบระบายน้ำเสีย (Sewage Drainage) ที่แยกจากกันโดยสิ้นเชิง ท่อระบายน้ำฝนจึงไม่มีน้ำเสียมาปะปน ทำให้สามารถเก็บกักน้ำฝนทั้งบนถนน และพื้นที่ต่าง ๆ ภายในเมืองทองธานีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบระบายน้ำฝน (Storm Drainage) ติดตั้งสถานีสูบน้ำ 5 สถานี เครื่องสูบน้ำ 24 เครื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำทั้งหมดในพื้นที่ ทั้งนี้หากเกิดกรณีฝนตกหนัก หรือเกิดน้ำท่วมดังกรณีที่เกิดภาวะน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ผ่านมาน้ำจะถูกสูบลงทะเลทั้ง 2 แห่ง บางส่วนถูกสูบออกไปยังคลองบางพูด และหากปริมาณน้ำในทะเลสาบสูงและไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ น้ำจะถูกสูบออกเพื่อลงสู่อ่างพักน้ำขนาดใหญ่ (Lagoon) อีกแห่งหนึ่ง และหากน้ำในอ่างพักน้ำเต็ม น้ำก็จะถูกสูบออกไปลงยังคลองบางพูด เพื่อระบายน้ำไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาโดยมีประตูระบายขนาดใหญ่คอยควบคุมระดับการรับส่งน้ำต่อไป
ระบบระบายน้ำเสีย (Sewage Drainage) ติดตั้งระบบการระบายน้ำเสียผ่านบ่อบำบัดกลางของเมืองทองธานี (Sewage Treatment Plant) เป็นระบบการระบายน้ำเสียแบบปิด แยกออกจากระบบระบายน้ำฝนของเมือง ซึ่งทำให้ไม่เพิ่มปริมาณน้ำในระบบระบายน้ำ โดยจะนำน้ำเสียจากอาคารต่าง ๆ ไปยังบ่อบำบัดน้ำเสียรวมของเมือง เพื่อบำบัดให้มีสภาพดีตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ก่อนที่จะถูกปนออกไปลงสู่คลองบางพูด เพื่อผันน้ำไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีประตูระบายน้ำคอยควบคุมระดับการผันน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาต่อไป