-
ประติมากรรมพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประดิษฐาน ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ โดยมีวัตถุประสงค์จัดสร้างขึ้น ในโอกาสฉลองครบรอบ ๕๐ ปี บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) และเพื่อรำลึกถึง คุณมงคล - คุณอนันต์ กาญจนพาสน์ ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการเมืองทองธานี
ถือเป็นงานประติมากรรมโลหะผสมที่มีความสง่างาม สะท้อนคุณค่าแห่งความดี ความเปี่ยมสุข อันเกิดจากศรัทธาและความเลื่อมใส องค์เทวรูปมีขนาดความสูงรวม ๒๖๕ เซนติเมตร ตั้งอยู่บนฐานรองรับขนาดความยาว ๒๐๕ เซนติเมตร ความกว้าง ๙๖ เซนติเมตร ความสูง ๑๕ เซนติเมตร รูปลักษณะของพระอินทร์ ทรงเครื่องแต่งกายสมัยศรีวิชัย ประทับนั่งบนคอช้าง มือขวาถือวชิระเป็นอาวุธคู่กาย มือซ้ายถือขอช้างพาดอยู่บนตัก โดยมีพาหนะเป็นช้างเอราวัณสามเศียร รูปลักษณะแสดงท่าทางเคลื่อนไหวไปข้างหน้าอย่างทรงพลัง แต่เปี่ยมด้วยความเมตตาสมเป็นช้างของทวยเทพแห่งคุณงามความดีและความอุดมสมบูรณ์ ทั้งคงความสวยงามด้วยเครื่องคชาภรณ์หรือเครื่องแต่งตัวช้างสำคัญ ได้แก่ สนับงา, ผ้าปกกระพอง, ตาข่ายแก้วเจียรไน, พู่หู, เสมาคชาภรณ์, พานหน้า, ผ้าคลุมหลัง, พานหลัง, สำอางค์, และกำไลข้อเท้า
งานประติมากรรมพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ แบ่งกระบวนการสร้างเป็น ๔ ขั้นตอนหลัก เริ่มตั้งแต่ ๑.) งานปั้นแบบ ๒.) งานขยายแบบ ซึ่งเป็นการปั้นด้วยดินเหนียวขนาดเท่าตัวจริง พร้อมปรับแต่งลวดลายประดับเครื่องทรงช้าง เครื่องทรงพระอินทร์ให้สวยงาม ๓.) งานทำพิมพ์ ๔.) งานหล่อโลหะบรอนซ์เป็นส่วนต่างๆ เชื่อมต่อชิ้นงานให้สมบูรณ์ทั้งองค์พระอินทร์และช้างเอราวัณ ทำสี เก็บแต่งรายละเอียดเรียบร้อย จากนั้นจึงนำมาประดิษฐาน ทั้งนี้ ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานทุกขั้นตอนราว ๑๖ เดือน โดยมีประติมากร พันโท นภดล สุวรรณสมบัติ และ อาจารย์ธนิตย์ แก้วนิยม อดีตข้าราชการสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร พร้อมคณะ ร่วมดูแลควบคุมงานประติมากรรมจนสำเร็จลุล่วง เป็นผลงานสำคัญอันโดดเด่นไม่เหมือนที่ใด นำมาซึ่งความปิติยินดีและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
นายปีเตอร์ กาญจนพาสน์
ประธานกรรมการ บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน)
โครงการจัดตั้งประติมากรรมพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประดิษฐาน ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี มีวัตถุประสงค์จัดสร้างขึ้นในโอกาสฉลองครบรอบ 50 ปี บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) และเพื่อรำลึกถึง คุณมงคล กาญจนพาสน์ (ปู่) และ คุณอนันต์ กาญจนพาสน์ (พ่อ) ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการเมืองทองธานี ซึ่งปัจจุบันถือเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความพร้อมสรรพ ทั้งอาคารสถานที่ บริการสิ่งอำนวยความสะดวก รองรับการอยู่อาศัย การดำเนินธุรกิจ และการท่องเที่ยวพักผ่อนอย่างครบวงจร
นายพอลล์ กาญจนพาสน์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน)
ประติมากรรมพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ จะเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของเมืองทองธานี กลายเป็นจุดเช็คอินของนักท่องเที่ยว รวมถึงลูกค้าผู้จัดงาน ผู้มาชมงาน ที่จะได้สักการะบูชาและขอพรตามความศรัทธา ณ ที่ประดิษฐานบริเวณลานด้านหน้าอาคาร อิมแพ็ค อารีน่า ในทุกวัน โอกาสนี้จึงอยากเชิญชวนทุกคนมาเที่ยวชมความสง่างามทั้งในช่วงกลางวันและความสวยงามยิ่งขึ้นในช่วงกลางคืนที่มีการประดับไฟแสงสีตระการตา เพื่อร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีบางกอกแลนด์ไปด้วยกัน
คุณกุลวดี จินตวร
ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน)
สำหรับโครงการพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า บางกอกแลนด์ เราคือบริษัทฯ ที่ดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศไทย ก่อตั้งมายาวนานและใช้สัญลักษณ์ช้างเอราวัญหรือช้างสามเศียรมาตลอด ในโอกาสครบรอบ 50 ปี เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น จึงได้อัญเชิญพระอินทร์ ซึ่งเป็นเทพองค์เดียวที่ทรงช้างเอราวัณ ทางบริษัทฯ จึงตั้งโครงการและได้ปรึกษาท่านผู้รู้ ผู้ชำนาญ ทั้งประติมากร ทีมช่างศิลปะ ช่างสิบหมู่ รับเชิญมาร่วมงานจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี ถือเป็นโครงการที่จะนำความเป็นสิริมงคล มาให้ทั้งกับผู้บริหาร พนักงาน เป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน นำพาองค์กรเติบโตอย่างมั่นคงตลอดไป
พันโท นภดล สุวรรณสมบัติ
ประติมากร อดีตข้าราชการสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
ประติมากรรมพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณแห่งนี้ ถือเป็นงานต้นแบบที่โดดเด่น ไม่ได้ลอกเลียนที่ใด เป็นชิ้นงานที่ละเอียด ชิ้นงานที่สร้างสรรค์ สัญลักษณ์ ท่าทาง รายละเอียด ศึกษาจากภาพเขียนโบราณสมัยศรีวิชัย ความงาม ลวดลายทางกายวิภาค มีความกลมกลืนกันอย่างเป็นธรรมชาติ ท่วงท่าของช้างเอราวัณและพระอินทร์ไม่ใช่การอยู่นิ่ง แต่ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว เมื่อแสงเงากระทบยิ่งมีความงาม การถืออาวุธเป็นไปในลักษณะยื่นออกไปด้านหน้า สอดรับกับการเคลื่อนไหวของขาช้างด้านหลัง และเครื่องประดับที่สะบัดพริ้วยิ่งทำให้สง่างาม
อาจารย์ธนิตย์ แก้วนิยม
อดีตข้าราชการสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
ช้างเอราวัณ มีลักษณะที่แตกต่างไม่ใช่ช้างที่เป็นแรงงาน ไม่ใช่ช้างออกศึกหรือช้างต่อสู้ที่มีกล้ามเนื้อพละกำลังมาก แต่เป็นช้างเทพมีพระเมตตา เสริมองค์ประกอบของพระอินทร์ซึ่งเป็นเทพผู้เมตตากับมวลมนุษย์ที่มาขอพร ซึ่งท่านจะอำนวยพรที่เป็นมงคลยิ่ง สำหรับการดำเนินงานประติมากรรมพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณทางประติมากร พันโท นภดล ค่อนข้างพิถีพิถัน ได้หารือทีมงาน ปรึกษาถึงองค์ประกอบต่างๆ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ หากต้องปรับแก้ก็ดำเนินการโดยทันที เพื่อให้ได้ผลงานชิ้นสำคัญ จัดเป็น masterpiece ชิ้นเดียว และถือเป็นผลงานระดับโลก ที่ตั้งอยู่ที่นี่..เมืองทองธานี
-
ตำนานพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ มีการกล่าวถึงในพระไตรปิฎกมากที่สุด เพราะเป็นเทพผู้พิทักษ์รักษาพุทธศาสนาเป็นบุคลาธิษฐานในตำนานที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้เคารพ เชื่อถือทั้งในศาสนาต้นกำเนิดคือ ศาสนาพราหมณ์ และ พระพุทธศาสนาผู้นำที่ผู้ตามเปี่ยมด้วยศรัทธาเพราะด้วยความเปี่ยมเมตตา, เป็นพุทธสาวกผู้อุปัฏฐาก, สามีผู้ยึดมั่น, บรรพบุรุษผู้ตั้งมั่นทานบดี,กัลญาณมิตรต่อผู้ประพฤติธรรม, บุคลาธิษฐาน เปรียบองค์ด้วยกฎแห่งกรรม, พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี, บิดาผู้เที่ยงธรรม, นักสังคมสงเคราะห์บำเพ็ญประโยชน์, บุตรกตัญญู, ญาติผู้อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่, แม้พระอินทร์จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในเทวโลกก็ยังมีวาระที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆบทบาทความสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคมีทั้งรุ่งเรืองและตกต่ำถูกลดบทบาทลงเป็นเทพชั้นรองจาก พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม ทางพระพุทธศาสนา พระอินทร์ต้องถือศีล 5 บริสุทธิ์และ บำเพ็ญวัตตบท 7 ประการ จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพราะคุณงาม ความดี เปรียบเหมือนผู้ปกครองในปัจจุบันจะไม่มีความเสื่อมหากยึดมั่น ปฏิบัติมั่นในหลักธรรม ดังนั้นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ จึงเป็นเทพที่ปกปักรักษาพุทธศาสนิกชนที่ยึดมั่นในศีลธรรมอันดีงาม การมีสร้างพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เครื่องเตือนใจเป็นรูปหล่อ รูปเหมือน และอื่นๆ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกว่า คนดีเทพรักษา พระคุ้มครอง และเป็นเครื่องป้องกันภัยจากสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้ที่จะมาทำร้าย เพราะพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เป็นเทพเทวราชาคอยปราบปรามสิ่งชั่วร้ายทั้ง 3 โลก คือสวรรค์ มนุษย์ และนรก
อ้างอิงจาก วารสาร มจร การพัฒนาสังคม
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต พุ่มพวง)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย -
พิธีบวงสรวงและสมโภชพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
การเคลื่อนย้ายพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณนำมาประดิษฐาน ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี
พิธีเททองหล่อพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ณ โรงปั้น จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
คาถาบูชาพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
เอราวะโณ นามะ เทวะราชะกุญชะโร มะหาเตโช โหติ
มะหายะโส มะหัพพะโล มะหิทธิโก มะเหสักโข
อิมินา สักกาเรนะ ตัง เอราวะณัง นามะ เทวะราชะกุญชะรัง ปูเชมิฯ
คำกล่าวอธิษฐานขอพร
เอราวะณัสสะ นามะ เทวะราชะกุญชะรัสสะ
อานุภาเวนะ สัพพะสิทธิ ภะวะตุ เม ฯ
ด้วยอานุภาพของพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ขอความสําเร็จทุกประการ จงมีแก่ข้าพเจ้าฯ
เครื่องสักการะ (โปรดวางในพานที่จัดรับรอง)
พวงมาลัย หรือ ดอกไม้
ความเป็นมา
ประติมากรรมพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประดิษฐาน ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ โดยมีวัตถุประสงค์จัดสร้างขึ้น ในโอกาสฉลองครบรอบ ๕๐ ปี บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) และเพื่อรำลึกถึง คุณมงคล - คุณอนันต์ กาญจนพาสน์ ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการเมืองทองธานี
ถือเป็นงานประติมากรรมโลหะผสมที่มีความสง่างาม สะท้อนคุณค่าแห่งความดี ความเปี่ยมสุข อันเกิดจากศรัทธาและความเลื่อมใส องค์เทวรูปมีขนาดความสูงรวม ๒๖๕ เซนติเมตร ตั้งอยู่บนฐานรองรับขนาดความยาว ๒๐๕ เซนติเมตร ความกว้าง ๙๖ เซนติเมตร ความสูง ๑๕ เซนติเมตร รูปลักษณะของพระอินทร์ ทรงเครื่องแต่งกายสมัยศรีวิชัย ประทับนั่งบนคอช้าง มือขวาถือวชิระเป็นอาวุธคู่กาย มือซ้ายถือขอช้างพาดอยู่บนตัก โดยมีพาหนะเป็นช้างเอราวัณสามเศียร รูปลักษณะแสดงท่าทางเคลื่อนไหวไปข้างหน้าอย่างทรงพลัง แต่เปี่ยมด้วยความเมตตาสมเป็นช้างของทวยเทพแห่งคุณงามความดีและความอุดมสมบูรณ์ ทั้งคงความสวยงามด้วยเครื่องคชาภรณ์หรือเครื่องแต่งตัวช้างสำคัญ ได้แก่ สนับงา, ผ้าปกกระพอง, ตาข่ายแก้วเจียรไน, พู่หู, เสมาคชาภรณ์, พานหน้า, ผ้าคลุมหลัง, พานหลัง, สำอางค์, และกำไลข้อเท้า
งานประติมากรรมพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ แบ่งกระบวนการสร้างเป็น ๔ ขั้นตอนหลัก เริ่มตั้งแต่
๑.) งานปั้นแบบ
๒.) งานขยายแบบ ซึ่งเป็นการปั้นด้วยดินเหนียวขนาดเท่าตัวจริง พร้อมปรับแต่งลวดลายประดับเครื่องทรงช้าง เครื่องทรงพระอินทร์ให้สวยงาม
๓.) งานทำพิมพ์
๔.) งานหล่อโลหะบรอนซ์เป็นส่วนต่างๆ เชื่อมต่อชิ้นงานให้สมบูรณ์ทั้งองค์พระอินทร์และช้างเอราวัณ ทำสี เก็บแต่งรายละเอียดเรียบร้อย จากนั้นจึงนำมาประดิษฐาน
ทั้งนี้ ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานทุกขั้นตอนราว ๑๖ เดือน โดยมีประติมากร พันโท นภดล สุวรรณสมบัติ และ อาจารย์ธนิตย์ แก้วนิยม อดีตข้าราชการสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร พร้อมคณะ ร่วมดูแลควบคุมงานประติมากรรมจนสำเร็จลุล่วง เป็นผลงานสำคัญอันโดดเด่นไม่เหมือนที่ใด นำมาซึ่งความปิติยินดีและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
นายปีเตอร์ กาญจนพาสน์
ประธานกรรมการ บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน)
โครงการจัดตั้งประติมากรรมพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประดิษฐาน ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี มีวัตถุประสงค์จัดสร้างขึ้นในโอกาสฉลองครบรอบ 50 ปี บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) และเพื่อรำลึกถึง คุณมงคล กาญจนพาสน์ (ปู่) และ คุณอนันต์ กาญจนพาสน์ (พ่อ) ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการเมืองทองธานี ซึ่งปัจจุบันถือเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความพร้อมสรรพ ทั้งอาคารสถานที่ บริการสิ่งอำนวยความสะดวก รองรับการอยู่อาศัย การดำเนินธุรกิจ และการท่องเที่ยวพักผ่อนอย่างครบวงจร
นายพอลล์ กาญจนพาสน์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน)
ประติมากรรมพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ จะเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของเมืองทองธานี กลายเป็นจุดเช็คอินของนักท่องเที่ยว รวมถึงลูกค้าผู้จัดงาน ผู้มาชมงาน ที่จะได้สักการะบูชาและขอพรตามความศรัทธา ณ ที่ประดิษฐานบริเวณลานด้านหน้าอาคาร อิมแพ็ค อารีน่า ในทุกวัน โอกาสนี้จึงอยากเชิญชวนทุกคนมาเที่ยวชมความสง่างามทั้งในช่วงกลางวันและความสวยงามยิ่งขึ้นในช่วงกลางคืนที่มีการประดับไฟแสงสีตระการตา เพื่อร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีบางกอกแลนด์ไปด้วยกัน
คุณกุลวดี จินตวร
ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน)
สำหรับโครงการพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า บางกอกแลนด์ เราคือบริษัทฯ ที่ดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศไทย ก่อตั้งมายาวนานและใช้สัญลักษณ์ช้างเอราวัญหรือช้างสามเศียรมาตลอด ในโอกาสครบรอบ 50 ปี เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น จึงได้อัญเชิญพระอินทร์ ซึ่งเป็นเทพองค์เดียวที่ทรงช้างเอราวัณ ทางบริษัทฯ จึงตั้งโครงการและได้ปรึกษาท่านผู้รู้ ผู้ชำนาญ ทั้งประติมากร ทีมช่างศิลปะ ช่างสิบหมู่ รับเชิญมาร่วมงานจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี ถือเป็นโครงการที่จะนำความเป็นสิริมงคล มาให้ทั้งกับผู้บริหาร พนักงาน เป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน นำพาองค์กรเติบโตอย่างมั่นคงตลอดไป
พันโท นภดล สุวรรณสมบัติ
ประติมากร อดีตข้าราชการสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
ประติมากรรมพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณแห่งนี้ ถือเป็นงานต้นแบบที่โดดเด่น ไม่ได้ลอกเลียนที่ใด เป็นชิ้นงานที่ละเอียด ชิ้นงานที่สร้างสรรค์ สัญลักษณ์ ท่าทาง รายละเอียด ศึกษาจากภาพเขียนโบราณสมัยศรีวิชัย ความงาม ลวดลายทางกายวิภาค มีความกลมกลืนกันอย่างเป็นธรรมชาติ ท่วงท่าของช้างเอราวัณและพระอินทร์ไม่ใช่การอยู่นิ่ง แต่ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว เมื่อแสงเงากระทบยิ่งมีความงาม การถืออาวุธเป็นไปในลักษณะยื่นออกไปด้านหน้า สอดรับกับการเคลื่อนไหวของขาช้างด้านหลัง และเครื่องประดับที่สะบัดพริ้วยิ่งทำให้สง่างาม
อาจารย์ธนิตย์ แก้วนิยม
อดีตข้าราชการสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
ช้างเอราวัณ มีลักษณะที่แตกต่างไม่ใช่ช้างที่เป็นแรงงาน ไม่ใช่ช้างออกศึกหรือช้างต่อสู้ที่มีกล้ามเนื้อพละกำลังมาก แต่เป็นช้างเทพมีพระเมตตา เสริมองค์ประกอบของพระอินทร์ซึ่งเป็นเทพผู้เมตตากับมวลมนุษย์ที่มาขอพร ซึ่งท่านจะอำนวยพรที่เป็นมงคลยิ่ง สำหรับการดำเนินงานประติมากรรมพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณทางประติมากร พันโท นภดล ค่อนข้างพิถีพิถัน ได้หารือทีมงาน ปรึกษาถึงองค์ประกอบต่างๆ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ หากต้องปรับแก้ก็ดำเนินการโดยทันที เพื่อให้ได้ผลงานชิ้นสำคัญ จัดเป็น masterpiece ชิ้นเดียว และถือเป็นผลงานระดับโลก ที่ตั้งอยู่ที่นี่..เมืองทองธานี
ประวัติพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ตำนานพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ มีการกล่าวถึงในพระไตรปิฎกมากที่สุด เพราะเป็นเทพผู้พิทักษ์รักษาพุทธศาสนาเป็นบุคลาธิษฐานในตำนานที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้เคารพ เชื่อถือทั้งในศาสนาต้นกำเนิดคือ ศาสนาพราหมณ์ และ พระพุทธศาสนาผู้นำที่ผู้ตามเปี่ยมด้วยศรัทธาเพราะด้วยความเปี่ยมเมตตา, เป็นพุทธสาวกผู้อุปัฏฐาก, สามีผู้ยึดมั่น, บรรพบุรุษผู้ตั้งมั่นทานบดี,กัลญาณมิตรต่อผู้ประพฤติธรรม, บุคลาธิษฐาน เปรียบองค์ด้วยกฎแห่งกรรม, พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี, บิดาผู้เที่ยงธรรม, นักสังคมสงเคราะห์บำเพ็ญประโยชน์, บุตรกตัญญู, ญาติผู้อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่, แม้พระอินทร์จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในเทวโลกก็ยังมีวาระที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆบทบาทความสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคมีทั้งรุ่งเรืองและตกต่ำถูกลดบทบาทลงเป็นเทพชั้นรองจาก พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม ทางพระพุทธศาสนา พระอินทร์ต้องถือศีล 5 บริสุทธิ์และ บำเพ็ญวัตตบท 7 ประการ จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพราะคุณงาม ความดี เปรียบเหมือนผู้ปกครองในปัจจุบันจะไม่มีความเสื่อมหากยึดมั่น ปฏิบัติมั่นในหลักธรรม ดังนั้นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ จึงเป็นเทพที่ปกปักรักษาพุทธศาสนิกชนที่ยึดมั่นในศีลธรรมอันดีงาม การมีสร้างพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เครื่องเตือนใจเป็นรูปหล่อ รูปเหมือน และอื่นๆ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกว่า คนดีเทพรักษา พระคุ้มครอง และเป็นเครื่องป้องกันภัยจากสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้ที่จะมาทำร้าย เพราะพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เป็นเทพเทวราชาคอยปราบปรามสิ่งชั่วร้ายทั้ง 3 โลก คือสวรรค์ มนุษย์ และนรก
อ้างอิงจาก วารสาร มจร การพัฒนาสังคม
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต พุ่มพวง)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
แกลเลอรี่
พิธีบวงสรวงและสมโภชพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
การเคลื่อนย้ายพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณนำมาประดิษฐาน
พิธีเททองหล่อพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
คำกล่าวขอพร
คาถาบูชาพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
เอราวะโณ นามะ เทวะราชะกุญชะโร มะหาเตโช โหติ
มะหายะโส มะหัพพะโล มะหิทธิโก มะเหสักโข
อิมินา สักกาเรนะ ตัง เอราวะณัง นามะ เทวะราชะกุญชะรัง ปูเชมิฯ
คำกล่าวอธิษฐานขอพร
เอราวะณัสสะ นามะ เทวะราชะกุญชะรัสสะ
อานุภาเวนะ สัพพะสิทธิ ภะวะตุ เม ฯ
ด้วยอานุภาพของพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ขอความสําเร็จทุกประการ จงมีแก่ข้าพเจ้าฯ
เครื่องสักการะ (โปรดวางในพานที่จัดรับรอง)
พวงมาลัย หรือ ดอกไม้